Jump to content
Sign in to follow this  
SolidMan

ปั้นดินให้เป็นดาว(บทความจากที่อื่นนะครับ ให้เครดิตไว้ด้านล่างแล้ว)

Recommended Posts

มาเรียนรู้กันให้มากขึ้นเกี่ยวกับองค์ประกอบสำคัญของการพัฒนานักเตะใน Football Manager 2016 ถึงการบ่มเพาะฝีเท้าซูเปอร์สตาร์ในอนาคตของคุณให้มีศักยภาพที่เต็มขีดความสามารถของตัวเอง

ถ้าพูดกันในทางเทคนิคแล้ว การพัฒนานักเตะจะหมายถึงการเพิ่มขีดความสามารถของเขาที่แสดงอยู่ในค่าพลังปัจจุบัน (Current Ability) ให้ได้ตามค่าพลังแฝง (Potential Ability) ซึ่งสิ่งนี้จะถูกเปิดเผยจากการใช้แมวมองหรือสต๊าฟฟ์ดูฟอร์มนักเตะ

โดยการพัฒนาจะชะลอลงอย่างมากหลังจากที่นักเตะอายุแตะ 24 ปี ดังนั้นถ้าคุณอยากปั้นวอนเดอร์คิดให้มีศักยภาพสูงสุด คุณต้องเริ่มต้นให้เร็วที่สุดเท่าที่จะสามารถทำได้

เช่นเดียวกับคุณสมบัติด้านพละกำลังและเทคนิคที่จะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจนกระทั่งอายุ 24 แม้จะสามารถพัฒนาได้อีกหลังจากนั้น แต่ก็เพิ่มขึ้นช้ามากและไม่เยอะนัก มีเพียงคุณสมบัติด้านสภาพจิตใจเท่านั้นที่จะเพิ่มขึ้นชัดเจนหลังจากผ่าน 24 ปีไปแล้ว

ประเมินฝีเท้า

การให้แมวมองดูฟอร์มนักเตะอย่างทะลุปรุโปร่งจะทำให้คุณได้ข้อมูลที่แม่นยำ แต่คุณต้องแน่ใจว่าแมวมองที่คุณส่งไปให้ติดตามเช็คผลงานของผู้เล่นนั้นมีการคาดการณ์ค่าพลังแฝงของนักเตะ (Judging Player Potential) ที่มีความแม่นยำสูงด้วย คุณต้องประเมินว่าเขามีค่าพอที่จะเซ็นสัญญา (หรือเก็บไว้ใช้งานเองในกรณีที่คุณเช็ครายงานจากโค้ชเพื่อติดตามพัฒนาการของดาวรุ่งในทีมที่คุมอยู่) หรือไม่ คุณต้องดูว่านักเตะที่ดูไว้นั้นมีค่าพลังในปัจจุบัน (Current Ability) สูงถึง 90% ของค่าพลังแฝง (Potential Ability) ที่เขามีอยู่ก่อนอายุ 24 ปีไหม

 

image: http://images.cdn.fourfourtwo.com/sites/fourfourtwo.com/files/styles/inline-image/public/fm16-scouting-reportv2.jpg?itok=Ay75UUg7

fm16-scouting-reportv2.jpg?itok=Ay75UUg7

 

สมมติว่าคุณเจอนักเตะคนหนึ่งที่อายุ 23 ปีและมีค่าพลังแฝงที่ดีมาก แต่ค่าพลังปัจจุบันไม่ได้ใกล้เคียงเลย และมันคงเป็นไปไม่ได้ที่จะเติมเต็มศักยภาพของเขาได้ในระยะเวลาอันสั้น ดังนั้นในเคสนี้ให้ปล่อยผ่านไปเลย

อีกตัวชี้วัดที่สำคัญสำหรับการพัฒนานักเตะที่สามารถรู้ได้จากการเช็คฟอร์มนั่นก็คือค่าความเสี่ยงที่จะเกิดอาการบาดเจ็บ (Injury Proneness) ถ้านักเตะที่เล็งไว้เดี้ยงบ่อยก็สามารถมองข้ามไปได้เลยเช่นกัน เพราะปัจจัยหลักที่ขัดขวางพัฒนาการของนักเตะก็คืออาการบาดเจ็บจนขาดการฝึกซ้อมและประสบการณ์ในเกมนั่นเอง

สอนให้มีนิสัยที่ถูกต้อง

หลังจากเลือกนักเตะมาปั้นแล้วก็ถึงขั้นตอนในการเช็คนิสัย (Personality) ของพวกเขา ซึ่งจากคาแรคเตอร์นี้เองจะทำให้คุณรู้ว่านักเตะมีความเป็นมืออาชีพและทะเยอทะยานแค่ไหน นอกจากนี้ยังเป็นตัวชี้วัดที่สำคัญในการดูความขยันซ้อมของนักเตะด้วย

 

image: http://images.cdn.fourfourtwo.com/sites/fourfourtwo.com/files/styles/inline-image/public/fm-16-tutoringv2.jpg?itok=9Wx-ac3L

fm-16-tutoringv2.jpg?itok=9Wx-ac3L

 

คาแรคเตอร์ในแง่บวก: บุคคลตัวอย่าง (Model Citizen), ชอบความสมบูรณ์แบบ (Perfectionist), เด็ดเดี่ยว (Resolute), แบบอย่างของมืออาชีพ (Model Professional), มืออาชีพ (Professional), มีความเป็นมืออาชีพระดับพอใช้ (Fairly Professional), มีสปิริต (Spirited), มีความทะเยอทะยานสูง (Very Ambitious), มีความทะเยอทะยานปานกลาง (Fairly Ambitious), มีความทะเยอทะยาน (Ambitious), มีแรงขับเคลื่อนในตัวเอง (Driven), มุ่งมั่น (Determined), มีความมุ่งมั่นปานกลาง (Fairly Determined), มีคาแรคเตอร์ของผู้นำ (Charismatic Leader), เป็นผู้นำโดยกำเนิด (Born Leader), มีความเป็นผู้นำ (Leader), ใจแข็ง (Iron Willed) และมีความยืดหยุ่น (Resilient)

คาแรคเตอร์ในแง่ลบ: เฉื่อยชา (Slack), เรื่อยๆ (Casual), เจ้าอารมณ์ (Temperamental), ไม่มีความทะเยอทะยาน (Unambitious), ท้อแท้ง่าย (Easily Discouraged), ความตั้งใจต่ำ (Low Determination), เหลาะแหละ (Spineless) และความเชื่อมั่นในตัวเองต่ำ (Low Self-Belief)

คาแรคเตอร์กลางๆ: ร่าเริง (Jovial), ใจดี (Light Hearted), Devote (ซื่อสัตย์), จงรักภักดีมาก (Very Loyal), จงรักภักดี (Loyal), จงรักภักดีพอใช้ (Fairly Loyal), จริงใจ (Honest), มีน้ำใจนักกีฬา (Sporting), ไม่มีน้ำใจนักกีฬา (Unsporting), มีเหตุผล (Realist) และยุติธรรม (Balanced)

คุณคงตั้งใจไว้ว่าดาวรุ่งของคุณจะต้องมีคาแรคเตอร์ที่ยอดเยี่ยม แต่ไม่ต้องกังวลหากพวกเขาไม่ได้มีบุคลิกที่เหมาะสมตอนที่คุณเซ็นเข้ามา คุณสามารถแก้ไขได้ด้วยการให้นักเตะรุ่นพี่ที่นิสัยดีกว่าคอยเป็นติวเตอร์ (Tutor) ให้ โดยใช้ตัวเลือก ‘พี่เลี้ยงนอกสนาม’ (Mentor off the pitch)

โดยการติวนั้นไม่ใช่แค่ทำให้นิสัยเปลี่ยน หากแต่ความมุ่งมั่น (Determination) ของคนถูกติวจะเปลี่ยนไปตามผู้ติวเช่นกัน ดังนั้นก่อนที่จะเริ่มให้นักเตะคนไหนมาเป็นติวเตอร์ ต้องจำไว้ว่าคนติวจะต้องเป็นนักเตะที่แก่กว่าและมีสถานะในทีมชุดใหญ่ที่สูงกว่ารวมถึงชื่อเสียงด้วย

เคล็ดลับ: คุณสามารถใช้ฟิลเตอร์ในการค้นหาโดยเลือกที่ Conditions – General – Personality เมื่ออยากจะหาติวเตอร์ที่เหมาะสมใน Football Manager 2016.

สต๊าฟฟ์และระบบโครงสร้างพื้นฐาน

อัตราความสมบูรณ์แบบของสิ่งอำนวยความสะดวกในการซ้อมของทีมเยาวชน (Youth Facilities) ก็มีผลกับคุณภาพในการซ้อมของเด็กปั้นด้วยเช่นกัน ขณะที่สิ่งอำนวยความสะดวกในการซ้อม (Training Facilities) จะมีอิทธิพลต่อคุณภาพในการซ้อมของนักเตะในทีมชุดใหญ่, ทีมสำรอง และทีมเยาวชนรุ่นอายุอื่นๆ (ถ้าใช้ร่วมกันได้) ดังนั้นคุณควรพยายามโน้มน้าวบอร์ดบริหารให้อัพเกรดสิ่งเหล่านี้ถ้าจำเป็น

 

image: http://images.cdn.fourfourtwo.com/sites/fourfourtwo.com/files/styles/inline-image/public/fm-16-coachingv2.jpg?itok=Yi5SIKHR

fm-16-coachingv2.jpg?itok=Yi5SIKHR

 

ขณะที่สต๊าฟฟ์โค้ชก็มีผลอย่างมากในการพัฒนานักเตะด้วยเช่นกัน มันเป็นเรื่องเข้าใจได้ง่ายว่าค่าความสามารถของโค้ชแต่ละคนควรจะสูงที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้เพื่อให้ได้มาซึ่งผลลัพธ์ที่ต้องการ แต่ก็อย่าไปมอบหมายงานให้เฉพาะโค้ชที่เก่งๆ ลองเปิดใจให้โอกาสโค้ชคนอื่นดูบ้าง และตั้งค่าให้ปริมาณงานของโค้ช (Coaches’ Workload) เป็นแบบปานกลาง (Average) หรือน้อย (Light) เพราะพวกเขาไม่สามารถจะดูแลนักเตะทุกคนได้อย่างทั่วถึง อีกทั้งยังจะทำให้คุณภาพในการฝึกซ้อมลดลงด้วย

ให้สัมผัสประสบการณ์ในทีมชุดใหญ่

การลงสนามเป็นสิ่งสำคัญอย่างมากต่อพัฒนาการของนักเตะเยาวชน คุณจะต้องฟังคำแนะนำจากสต๊าฟฟ์อยู่เสมอว่านักเตะคนไหนที่ต้องการประสบการณ์ลงสนามกับทีมชุดใหญ่เพื่อจะได้พัฒนามากขึ้น

โดยปกติแล้วคุณต้องทำการตัดสินใจเองเมื่อผู้เล่นแก่เกินไปที่จะลงเล่นในทีมเยาวชน (อายุประมาณ 18-19 ปี) ในจุดนี้คุณต้องฟันธงว่าจะให้เขาขึ้นมาเล่นในทีมชุดใหญ่หรือจะปล่อยยืมตัว

 

image: http://images.cdn.fourfourtwo.com/sites/fourfourtwo.com/files/styles/inline-image/public/fm-16-loan-suggestionv2.jpg?itok=Cccrc1FM

fm-16-loan-suggestionv2.jpg?itok=Cccrc1F

 

ซึ่งประสบการณ์ในทีมชุดใหญ่จะมีประโยชน์กับนักเตะหนุ่มๆที่ได้ลงเล่นในลีกที่เหมาะสมหรือดีกว่าระดับฝีเท้าของเขาในปัจจุบัน โดยเช็คได้จากรายงานของโค้ช เหนือสิ่งอื่นใดค่าเฉลี่ยคะแนนความสามารถของนักเตะ (Average Rating) ในแมตช์อย่างเป็นทางการก็เป็นตัวสะท้อนให้เห็นถึงพัฒนาการของนักเตะว่ารุดหน้าแค่ไหนด้วย

ถ้าคุณตั้งใจที่จะให้เขาลงสนามอย่างสม่ำเสมอ (เฉลี่ยแล้วอย่างน้อยๆนัดละ 45 นาที) คุณก็สามารถเก็บไว้ในทีมชุดใหญ่ได้ แต่ถ้าคุณคิดว่าเขาน่าจะต้องไปเก็บประสบการณ์ในทีมชุดใหญ่กับที่อื่น ก็ควรพิจารณาปล่อยยืมไปเล่นในลีกที่มีคุณภาพใกล้เคียงกับลีกที่คุณเล่นอยู่และมีสิ่งอำนวยความสะดวกในการฝึกซ้อมที่คล้ายคลึงกัน และจงปฏิเสธข้อเสนอยืมตัวที่ยื่นสถานะมาน้อยกว่านักเตะคนสำคัญในทีมชุดใหญ่ (First Team) นอกจากนี้อย่าลืมด้วยว่าให้เพิ่มเงื่อนไขสามารถเรียกตัวกลับ (Can Be Recalled) เพื่อสามารถควบคุมสถานการณ์ของสโมสรที่ยืมตัวนักเตะไปได้

credit  http://www.fourfourtwo.com/th/features/eriiynruuethkhnikhpandinaihepndaawain-football-manager-2016#8ow9RYbEVbwCMp49.99

 

ไม่แน่ใจว่าจะผิดกฎระเบียบของเว็บไซต์รึป่าว ถ้าผิดก็ลบได้เลยนะครับ เห็นว่าเป็นบทความที่มีประโยชน์ เลยอยากจะโพสต์ให้ได้อ่านกันครับ

Edited by SolidMan
  • Like 3

Share this post


Link to post
Share on other sites

ขอบคุณมากครับ เข้าใจว่าถ้าลงพร้อมให้เครดิตกับลิงค์ไปที่เว็บต้นทาง ไม่น่าจะเป็นอะไรนะครับ

Share this post


Link to post
Share on other sites

เอ่อ...พึ่งรู้ว่าภาคนี้ กำหนดด้วยว่า พอ 24 จะไม่ค่อยพัฒนาแล้ว (ทำอย่างกับคนที่จะหยุดสูงตอน 24-25 ปี อย่างนั้น)

 

แต่ก็เริ่มเข้าใจแล้ว ที่นักเตะบางตัวที่อายุเกิน 24 ขึ้นไป ทำไมบางตัวฝึกมา 1-2 ปี แล้วค่าพลังไม่ค่อยขึ้นเลย เช่น แจ็ก วิลเชียร์ ที่เซ็นฟรีตอนหมดสัญญากับอาเซนอล มีค่าพลัง CA แค่ 140 แต่ PA 170 กว่า(จำไม่ได้) ทั้งฝึกและลงแข่งตลอด 2 ปี ขึ้น 2 เอง

 

ปล.งั้น 18-23 คือจุด peak สุดแล้วสินะ ถ้าเกิน 24 ก็ขายทิ้งได้เลย(ถ้าพลังยังไม่เยอะ)

ปล.แต่บางตัวก็ขึ้นจนเต็ม(เกือบเต็ม)ได้นะครับทั้งที่อายุมากแล้ว เช่น Ozil ซื้อมาจากกอาเซนอลตอนมันไม่พอใจแล้วขึ้น Request ตอนนั้นซื้อตอน 27-28 ปี ค่า CA170 ตอนนี้ 32 ค่า CA 176 แล้ว ตรงข้ามกับ Mata เลยที่ซื้อตอน 28 พลัง CA 171 ตอนนี้ 32 พลังเหลือแค่ 167 เอง ทั้งๆที่ ลงสนามเยอะพอกัน บาดเจ็บก็ไม่นานและไม่มากด้วย (แต่มีคนมาขอซื้อตลอดเพราะฟอร์มดีทั้งคู่)

Share this post


Link to post
Share on other sites

เอ่อ...พึ่งรู้ว่าภาคนี้ กำหนดด้วยว่า พอ 24 จะไม่ค่อยพัฒนาแล้ว (ทำอย่างกับคนที่จะหยุดสูงตอน 24-25 ปี อย่างนั้น)

 

แต่ก็เริ่มเข้าใจแล้ว ที่นักเตะบางตัวที่อายุเกิน 24 ขึ้นไป ทำไมบางตัวฝึกมา 1-2 ปี แล้วค่าพลังไม่ค่อยขึ้นเลย เช่น แจ็ก วิลเชียร์ ที่เซ็นฟรีตอนหมดสัญญากับอาเซนอล มีค่าพลัง CA แค่ 140 แต่ PA 170 กว่า(จำไม่ได้) ทั้งฝึกและลงแข่งตลอด 2 ปี ขึ้น 2 เอง

 

ปล.งั้น 18-23 คือจุด peak สุดแล้วสินะ ถ้าเกิน 24 ก็ขายทิ้งได้เลย(ถ้าพลังยังไม่เยอะ)

ปล.แต่บางตัวก็ขึ้นจนเต็ม(เกือบเต็ม)ได้นะครับทั้งที่อายุมากแล้ว เช่น Ozil ซื้อมาจากกอาเซนอลตอนมันไม่พอใจแล้วขึ้น Request ตอนนั้นซื้อตอน 27-28 ปี ค่า CA170 ตอนนี้ 32 ค่า CA 176 แล้ว ตรงข้ามกับ Mata เลยที่ซื้อตอน 28 พลัง CA 171 ตอนนี้ 32 พลังเหลือแค่ 167 เอง ทั้งๆที่ ลงสนามเยอะพอกัน บาดเจ็บก็ไม่นานและไม่มากด้วย (แต่มีคนมาขอซื้อตลอดเพราะฟอร์มดีทั้งคู่)

คิดว่าพออายุเลย 24 แล้ว น่าจะพัฒนาได้อยู่ครับ แต่อาจจะช้าและน้อยกว่าตอนก่อน 24 

คงจะอิงตามหลักความเป็นจริงของร่างกายมนุษย์ครับ

ส่วนที่ค่า CA เพิ่มนั้น น่าจะมาจากการพัฒนาในส่วนของ mental หรือความสามรถด้านจิตใจมากกว่าครับ

Edited by SolidMan

Share this post


Link to post
Share on other sites

ขอบคุณมากครับ เข้าใจว่าถ้าลงพร้อมให้เครดิตกับลิงค์ไปที่เว็บต้นทาง ไม่น่าจะเป็นอะไรนะครับ

ครับผม เอ่อ มีเรื่องจะขออนุญาตหน่อยครับ เห็นท่านทำ FM Career แล้ว เลยเกิดแรงบันดาลใจ อยากจะทำบ้าง

จึงอยากจะเอาแนวทางรูปแบบของท่านมาทำ FM Career ของตัวเองบ้าง จะได้มั้ยครับ

Share this post


Link to post
Share on other sites

Create an account or sign in to comment

You need to be a member in order to leave a comment

Create an account

Sign up for a new account in our community. It's easy!

Register a new account

Sign in

Already have an account? Sign in here.

Sign In Now
Sign in to follow this  

×
×
  • Create New...

Important Information

FM-Thai.com uses cookies, by using our website you agree to our use of cookies as described in our Privacy Policy We have placed cookies on your device to help make this website better. You can adjust your cookie settings, otherwise we'll assume you're okay to continue.